กระดูกหักเกิดได้ทุกช่วงวัย เด็กมักกระดูกหักจากเล่นซน ผู้ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้สูงวัยมักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน มวลกระดูกที่เปราะบางแม้เพียงลื่นหกล้มก็หักได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรละเลยภาวะกระดูกหักจากกระดูกพรุน
ตัวการกระดูกหัก
สาเหตุหลักของกระดูกหัก นอกจากอุบัติเหตุจากการจราจรแล้ว ยังมีอุบัติเหตุจากการทำงาน การเล่นกีฬา อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพบมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ กระดูกหักในผู้สูงอายุ ซึ่งมีคุณภาพของกระดูกลดน้อยลง หากมีอุบติเหตุเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดกระดูกหักไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ฯลฯอาการกระดูกหัก
อาการกระดูกหักมักเห็นชัดเจนจะบวมปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณที่หัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นจึงควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี เพื่อป้องกันกระดูกทรุดตัว เสริมความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารแคลเซียมสูงตั้งแต่อายุยังน้อยผ่าตัดเชื่อมกระดูกหักแบบแผลเล็ก
ปัจจุบันมีการใช้เทคนิคผ่าตัดเชื่อมกระดูกหักแบบแผลเล็ก เปิดแผลเล็กหัวท้ายของตำแหน่งกระดูกที่หักแล้วสอดเหล็กดามใต้กล้ามเนื้อคล้ายขบวนรถไฟใต้ดิน แล้วยึดกระดูกด้วยสกรู เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าผ่าเปิดแผลยาว ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กระดูกติดดี ฟื้นตัวเร็วขึ้น หากมีกระดูกพรุนหักยุบและปวดหลังมากอาจรักษาด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง
รักษากระดูกสะโพกหัก
กรณีผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก วิธีการรักษาจะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและตำแหน่งการหักของกระดูกสะโพก โดยจะมี 2 วิธีคือ- การผ่าตัดใส่ข้อสะโพกข้อเทียม
- การผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกไว้ภายใน โดยการผ่าตัดใส่โลหะพิเศษยึดกระดูกไว้ให้เข้าที่และเกิดการติดของกระดูกตามธรรมชาติ
คุณเสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนหรือไม่?
ภาวะกระดูกพรุนเกิดจากการขาดสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง หักง่าย พบบ่อยบริเวณข้อมือ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก เมื่อกระดูกหักผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวและใช้งานอวัยวะนั้น ๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันการอาจพิการหรือเสียชีวิตได้ เมื่อกระดูกหักผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวและใช้งานอวัยวะนั้น ๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันการอาจพิการหรือเสียชีวิตได้ ภาวะกระดูกพรุนสามารถตรวจพบและควบคุมได้ ด้วยการหาปัจจัยเสี่ยงและรับการตรวจวัดมวลกระดูกเมื่อมีข้อบ่งชี้ ดังนี้- ผู้หญิง อายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ชาย อายุ 70 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิง อายุต่ำกว่า 65 ปี หรือผู้ชาย อายุต่ำกว่า 70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้อย่างน้อย 1 ข้อ
- หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
- มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี
- ได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์เป็นระยะเวลานาน
- น้ำหนัก (กก.) ส่วนสูง (เมตร) 2 มีประวัติบิดามารดาเกิดกระดูกสะโพกหัก
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19 กก./ตรม.
- ตรวจพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังผิดรูปจากภาพเอกซเรย์
- มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
- ส่วนสูงลดลง
- ผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน (จากการทำแบบทดสอบหาความเสี่ยง)
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719 Email: [email protected]