โรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน โดยมักเริ่มต้นด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ แต่หากปล่อยไว้จนอาการทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวยาก
ถึงแม้พาร์กินสันจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการตรวจหาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดพามีนกับเทคโนโลยี PET Brain F-DOPA วินิจฉัยระยะความรุนแรงของโรค หรือรักษาโรคพาร์กินสันด้วยการผ่าตัดฝังไมโครชิปกระตุ้นสมองส่วนลึก DBS Therapy เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ลดการใช้ยา ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
พาร์กินสันกับผู้สูงอายุ
ปัจจุบันโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) พบได้มากขึ้นจากสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เร็วเกินไป ได้เเก่ อาการสั่น (tremor) อาการกระตุก (myoclonus, tics disorders) อาการบิดเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ (dystonia) หรืออาการเคี้ยวปาก หรืออาการคล้ายรำละคร (chorea) เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องพยายามตรวจค้นเพื่อหาสาเหตุเพื่อการรักษาที่ต้นเหตุ ปัจจุบันมีการตรวจด้วยเครื่องสเเกนสมองชนิด CT, MRI เเละ PET Scan โดยเฉพาะ F-DOPA PET จะใช้เพื่อวินิจฉัยยืนยันโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะไดัอย่างละเอียดเพิ่มขึ้นพาร์กินสันกับการรักษา
การรักษาโรคพาร์กินสันที่ได้ผล คือ การรักษาด้วยยาทดเเทนโดพามีนที่ขาดไป ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนในกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามานาน (motor fluctuations) สามารถรักษาด้วยวิธีฝัง electrode เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณยาที่ใช้เเละลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลงได้ ส่วนการผ่าตัดจะเเบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่- ทำการผ่าตัดเพื่อฝัง electrode ขนาดเล็กเข้าไปที่สมองส่วน subthalamic nucleus โดยทำการผ่าตัดที่สมองทั้งสมองข้างโดยเจาะรูเล็ก ๆ ที่กะโหลกศีรษะ เเละจะมีการทดสอบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นไหมโดยการกระตุ้นสมองส่วนนั้นโดยที่ผู้ป่วยยังรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จเเล้วจะทำการผ่าตัดในลำดับต่อไป
- ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็ก (IPG DBS battery) ไว้ที่หน้าอกเเล้วเชื่อมต่อกับสาย electrode ในสมอง หลังจากนั้น 3 – 4 สัปดาห์จะทำการตั้งโปรเเกรมตัวเครื่องที่หน้าอกเเละดูการตอบสนองของอาการของผู้ป่วย โดยสามารถลดอาการเกร็ง สั่น เเละช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น โดยการเปิดปิดเครื่องหรือตั้งโปรเเกรมสามารถทำได้จากภายนอกโดยตัว remote programmer โดยเเพทย์หรือตัวผู้ป่วยเองก็สามารถทำได้โดยมีเครื่อง patient self programmer เช่นเดียวกัน
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719 Email: [email protected]