เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมถึงเมารถเมาเรือง่ายกว่าคนอื่น ทำไมอายุไม่เยอะ แต่มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน มีอาการโคลงเคลงง่าย รักษาเท่าไรก็ไม่หายสักที อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าเป็นไมเกรน
รู้จักไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่หลายคนรู้จักกันดี เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีการประมาณการณ์ว่าในประเทศไทยมีคนเป็นไมเกรนมากถึง 12 ล้านคน และผู้หญิงเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศต้นเหตุของไมเกรน
สาเหตุของไมเกรนมักเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอก ได้แก่- ปัจจัยทางพันธุกรรม ทำให้ระบบประสาทมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ
- ปัจจัยจากภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม, ฮอร์โมน, การพักผ่อนไม่เพียงพอ, ความเครียด ฯลฯ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนขึ้นมาได้
- อาการผิดปกติทางระบบประสาทอื่น ๆ ร่วมได้ เช่น เห็นภาพผิดปกติเป็นเส้นซิกแซกหรือจุด เห็นแสงระยิบระยับ มีภาพมืดเกิดก่อนที่จะมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
- อาการอ่อนเพลีย หาวนอน คิดอะไรไม่ออก นำมาก่อนเกิดอาการปวดศีรษะได้ถึง 3 วัน
- ในช่วงที่มีอาการปวดศีรษะมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากเห็นแสงจ้า ไม่อยากได้ยินเสียงดัง รวมทั้งอาจเกิดอาการเวียนศีรษะร่วมด้วยได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง
เวียนศีรษะกับไมเกรน
อาการเวียนศีรษะพบร่วมกับอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ถึง 1 ใน 3 โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นไมเกรนแบบมีอาการเตือน (Migraine with aura) จะพบอาการเวียนศีรษะมากกว่ากลุ่มคนที่เป็นไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือนถึง 2 เท่า- บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะรุนแรงเป็นลักษณะของบ้านหมุนร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน
- บางรายเป็นไม่รุนแรงอาจมีความรู้สึกโคลงเคลงเหมือนนั่งอยู่ในเรือ รู้สึกการทรงตัวไม่ดี
- บางรายไม่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะหรือร่างกายเร็ว ๆ ได้ เวลามองภาพที่ผ่านไปมาเร็ว ๆ จะเกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น อาการเวียนศีรษะนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีอาการปวดศีรษะ
- บางรายอาจสังเกตว่าตนเองมีอาการเมารถหรือเมาเรือง่ายกว่าคนปกติ

สิ่งกระตุ้นอาการเวียนศีรษะ
สิ่งกระตุ้นอาการเวียนศีรษะที่พบบ่อย คือ- อยู่ในที่แออัด
- แสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์
- การทำงานยุ่ง ๆ ซ้ำไปซ้ำมา
- ในกลุ่มผู้สูงอายุ อาการปวดศีรษะไมเกรนมักจะค่อย ๆ ลดน้อยลง แต่อาการเวียนศีรษะที่เกิดร่วมกับไมเกรนนั้น มักจะยังคงอยู่ หรือในบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะเพิ่มมากขึ้นได้
- เส้นเลือดสมองตีบ
- เส้นเลือดสมองผิดปกติ
- เนื้องอกในสมอง
- ลมชัก
- ความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหู เช่น การอักเสบของเส้นประสาทหู หินปูนในหู โรคมีเนียร์ เป็นต้น
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719 Email: [email protected]