หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
แค่ปวดหลัง รู้ตัวอีกทีอาจเป็นโรคกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลังเป็นปัญหาที่ทำให้ใครหลายคนต้องมาพบแพทย์ แต่กว่าที่จะมาตรวจนั้นมักรอจนปวดแทบทนไม่ไหว โดยคนไข้อาจมีอาการปวดหลังเพียงอย่างเดียวหรือมีอาการปวดแบบอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวไปไหล่ แขน มือ ขา หรือเท้า หรือชาตามปลายมือปลายเท้า เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าอาการปวดเหล่านี้ที่ดูเผิน ๆ เหมือนอาการปวดเมื่อยธรรมดานั้นอาจมีสาเหตุมาจากโรคกระดูกสันหลังก็เป็นได้

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • ปวดต้นคอ
  • ปวดกลางลำตัว
  • ปวดช่วงเอว
  • ปวดก้นกบ
  • ปวดร้าวไหล่
  • ปวดร้าวขา
  • ชาตามปลายมือและปลายเท้า
  • มีไข้
  • น้ำหนักลดร่วมกับอาการปวดหลัง
  • มีเลือดออกผิดปกติทางท่อปัสสาวะ, ทวารหนัก, ช่องคลอด

หากมีอาการปวดเหล่านี้เรื้อรังนานถึง 4 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังเหล่านี้ 

  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Intervertebral Disc herniation)
  • โรคข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมเคลื่อน (Facet Dislocation)
  • โรคช่องไขสันหลังตีบ (Spinal Stenosis)
  • การผิดรูปของกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
  • กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
  • โรคมะเร็งกระดูกสันหลังหรือมะเร็งส่วนอื่นลามมาที่กระดูกสันหลัง
  • โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อวัณโรคและแบคทีเรีย
  • โรคกระดูกสันหลังอักเสบ เช่น โรครูมาตอยด์
  • โรคกระเพาะ, ลำไส้, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่

นอกจากนี้สาเหตุของอาการปวดหลังเรื้อรังอาจมาจากโรคของอวัยวะอื่นที่ไม่ใช่กระดูกสันหลัง แต่สามารถปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น ตับอ่อนอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไตหรือท่อไต เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง เป็นต้น 

ผ่าตัดกระดูกสันหลังคดด้วยเทคนิค DLIF (ดี-ลิฟท์)

ปวดหลังที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

ตามปกติแล้วอาการปวดหลังที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น ยกของหนัก นั่งนานติดโต๊ะทำงาน ใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป เอื้อมหรือเอี้ยวไปหยิบของผิดท่า หรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2 – 4 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นนานเกิน 1 เดือนขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่อาจมีสาเหตุรุนแรงเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และอาจต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน

สัญญาณเตือนรีบมาพบแพทย์

  • ปวดร้าวลงขา อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มมีการกดทับเส้นประสาทของกระดูกสันหลังแล้ว
  • ชาที่ขาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ควบคุมการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ เป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติของเส้นประสาทไขสันหลัง
  • ปวดหลังทันทีหลังยกของหนักหรือหกล้มโดนกระแทก อาจมีกระดูกหักหรือในผู้สูงอายุอาจพบกระดูกสันหลังพรุนหักยุบได้
  • ปวดหลังอย่างไม่ทราบสาเหตุร่วมกับมีไข้สูง ซีด และร่างกายโดยรวมอ่อนเพลีย อาจมีการติดเชื้อบางอย่าง เช่น แบคทีเรีย และวัณโรคกระดูกสันหลัง หากมีไข้ขึ้นตอนกลางคืน เป็นต้น
  • ในผู้ป่วยมะเร็ง การปวดหลังอาจหมายถึงการที่มะเร็งแพร่กระจายลุกลามไปยังกระดูกสันหลังแล้ว หรือในกรณีที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน อาจเป็นอาการที่บอกว่ามะเร็งกลับเป็นขึ้นมาใหม่ที่กระดูกก็เป็นได้

รักษาอาการปวดหลังและโรคกระดูกสันหลัง

ถ้าอาการเป็นไม่มากส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาบรรเทาปวด การหยุดนอนพัก และการทำกายภาพบำบัด โดยอาการสามารถหายได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์และจะหายขาดถ้ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ในกรณีที่อาการเป็นมากหรือรักษาไม่หายด้วยยาและการกายภาพบำบัด โดยทั่วไปแล้วอาจจบลงด้วยการผ่าตัดรักษาในท้ายที่สุด

รักษาโรคกระดูกสันหลังแบบ Intervention

โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลมีแนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังแบบ Intervention ซึ่งทีมแพทย์  Intervention มีความชำนาญการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยมีหลักการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางแต่ละสาขา อันได้แก่ Pain Intervention Specialist ประสาทศัลยแพทย์ แพทย์ศัลยกรรมกระดูก แพทย์ประสาทวิทยา จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ฯลฯ ร่วมกันวินิจฉัยสาเหตุและอาการบาดเจ็บที่แท้จริง รวมถึงนำเสนอทางเลือกในการรักษาต่าง ๆ ตลอดจนถึงขั้นตอนการผ่าตัดหากหลีกเลี่ยงไม่ได้แก่ผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาอาการเจ็บปวด ลดการผ่าตัดโดยไม่จำเป็น และเพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตเป็นปกติได้โดยเร็วที่สุด


ที่มา

  • http://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/low_back_chaiwat55.pdf
  • เอกสารคำสอนเรื่อง อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์
  • http://www.spine-health.com/conditions/lower-back-pain/lower-back-pain-symptoms-diagnosis-and-treatment
  •  Koes BW, van Tulder MW, Thomas S. Diagnosis and treatment of low back pain. BMJ. 2006 Jun 17;332(7555):1430-4.
  •  Cherkin DC, Deyo RA, Loeser JD, Bush T, Waddell G. An international comparison of back surgery rates. Spine (Phila Pa 1976). 1994 Jun 1;19(11):1201-6.
  •  McKinnon ME, Vickers MR, Ruddock VM, Townsend J, Meade TW. Community studies of the health service implications of low back pain. Spine (Phila Pa 1976). 1997 Sep 15;22(18):2161-6.
  •  Bratton RL. Assessment and management of acute low back pain. Am Fam Physician. 1999 Nov 15;60(8):2299-2306.
  • Patel AT, Ogle AA. Diagnosis and management of acute low back pain. American Academy of Family Physicians. 2007 Mar 12th.
  •  Manchikanti L, et al. Comprehensive review of epidemiology scope, and impact of spinal pain. Pain Physician. 12(4):35-70
  •  Institute for health metrics and evaluation. 2010 Global burdern of disease study
  •  McKinnon ME, Vickers MR, Ruddock VM, Townsend J, Meade TW. Community studies of the health service implications of low back pain. Spine (Phila Pa 1976). 1997 Sep 15;22(18):2161-6.
  • Bratton RL. Assessment and management of acute low back pain. Am Fam Physician. 1999 Nov 15;60(8):2299-2306.
  •  http://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/low_back_chaiwat55.pdf
  • เอกสารคำสอนเรื่อง อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์
  • Koes BW, van Tulder MW, Thomas S. Diagnosis and treatment of low back pain. BMJ. 2006 Jun 17;332(7555):1430-4.
  •  Cherkin DC, Deyo RA, Loeser JD, Bush T, Waddell G. An international comparison of back surgery rates. Spine (Phila Pa 1976). 1994 Jun 1;19(11):1201-6.

สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719
Email: [email protected]