คนไทยที่อายุเลย 45 ปีไปแล้วเกือบทุกคนพบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยควรมีความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันเกี่ยวกับโรคนี้

 

อาการกระดูกคอเสื่อม

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อมจะมีอาการเริ่มแรกคือ นอนหลับไม่สนิท บางทีนอนตะแคงไม่ได้ นอนตะแคงแล้วจะเกิดอาการปวดเมื่อย ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะใช้หมอนหนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นอันหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง และต่อมาจะมีอาการชาหรืออ่อนแรงของมือและแขน บางรายจะมีอาการเหลียวหลังไม่สะดวก ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้ร่างกายพิการได้

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นกระดูกคอจะเสื่อมและจะมีการงอกของกระดูก ซึ่งหากกระดูกที่งอกมาก ๆ ไปกดทับเส้นประสาทและไขสันหลังก็จะทำให้เกิดอาการปวด ชาตามแขนและมือ และต่อไปจะทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ใช้แขนและมือไม่ถนัด เดินทรงตัวลำบาก กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบความผิดปกติของกระดูกคอว่าเกิดขึ้นตำแหน่งใด ควรเข้ารับการตรวจร่างกาย และเมื่อมีความจำเป็นควรตรวจ MRI SCAN  หากพบความผิดปกติไม่รุนแรง ก็สามารถให้การรักษาด้วยการรรับประทานยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณคอให้แข็งแรง หรือในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีฉีดยาเข้าไปที่บริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับ แต่หากตรวจพบกระดูกคอเสื่อมอย่างรุนแรง ผู้ป่วยมีมือ หรือแขนอ่อนแรง เดินทรงตัวลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ก็จะต้องพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ปวดคอ-ปวดหลัง อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

รักษากระดูกคอเสื่อม

การรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมนั้น นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่าบริหารดี ๆ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แต่หากไม่ได้ผลในรายที่มีอาการมาก การผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้หายจากโรค โดยปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษาได้พัฒนาการรักษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • การผ่าตัดในปัจจุบันจะใช้กล้องในการผ่าตัด เป็นการผ่าแผลเล็ก ลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
  • วัสดุที่ใช้ในการผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูง ในสมัยก่อนต้องขุดกระดูกจากสะโพกมาใช้ในการซ่อมแซมคอ แต่ปัจจุบันหากไม่อยากเจ็บสะโพกก็สามารถใช้วัสดุที่สามารถทดแทนได้
  • เครื่องมือแพทย์มีการลงทุนเพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่อง O-ARM  ที่ใช้ในห้องผ่าตัด  สามารถถ่ายเอกซเรย์จำนวน 500 – 600 ภาพในครั้งเดียว ประมวลเป็นภาพ 3 มิติ ทำงานร่วมกับระบบนำวิถีซึ่งจะได้ภาพเห็นชัดเจนจากทุกทิศทาง ทำให้ผ่าตัดได้ชัดเจน รับรังสีน้อย ลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล
  • มีการใช้เครื่องติดตามการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring) เพื่อเพิ่มความมั่นใจของเส้นประสาทและไขสันหลัง

การมาพบแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลังเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะแพทย์สมัยใหม่มีการรักษาที่หลากหลาย ส่วนใหญ่การรักษาในปัจจุบันเน้นทานยากับทำกายภาพบำบัดควบคู่กันไป อาการก็จะดีขึ้นแล้ว ทำให้โอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อย ซึ่งหากผู้สนใจตรวจเช็กให้แน่ใจว่าขณะนี้เป็นโรคข้อกระดูกสันหลังคอเสื่อมหรือไม่


สอบถามเพิ่มเติม
โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร. 1719
Email: [email protected]