หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ข้อดีของการผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้าง

เมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่า หากต้องผ่าตัดพร้อมกันทั้งสองข้าง ผู้ป่วยมักกังวลและมีข้อสงสัยว่าจะเป็นอันตรายหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้นการมีความเข้าใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เข้ารับการผ่าตัดรักษาได้อย่างมั่นใจ พร้อมกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง


ผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้างมีความเสี่ยงหรือไม่

ทั้งการผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่า ไม่ว่าจะผ่าตัดข้างเดียวหรือสองข้าง ก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดความพร้อมก่อนผ่าตัดจึงจะเข้ารับการผ่าตัดได้


ผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้างมีอาการแทรกซ้อนมากกว่าผ่าข้างเดียวหรือไม่

ไม่ว่าจะผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่าข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพร้อมกัน ล้วนมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเท่ากัน อาทิ การติดเชื้อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น โดยในการผ่าตัดพร้อมกันทั้งสองข้างจะมีการเตรียมเลือด 1 ยูนิตเพื่อป้องกันในกรณีผู้ป่วยเสียเลือดมาก


ผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้างใช้เวลานานแค่ไหน

โดยปกติการผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่าข้างเดียวจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 1 ชั่วโมงครึ่ง ดังนั้นการผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่าทั้งสองข้างจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่ง ในกรณีที่ผ่าตัดทั้งสองข้างแพทย์จะเริ่มผ่าข้างที่สองได้เร็วกว่า โดยจะมีแพทย์ผู้ช่วยเย็บปิดแผลไปพร้อมกัน


ข้อดีของการผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้าง

การฟื้นฟูร่างกายของผู้ที่ผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าพร้อมกันทั้งสองข้างช้ากว่าผู้ที่ผ่าข้างเดียวหรือไม่

การฟื้นตัวและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่าทั้งสองข้างจะนานกว่าการผ่าตัดข้างเดียวประมาณ 1 วัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะฝึกยืนและเดินได้ตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด โดยโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำการศึกษาผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งมีการผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่าทั้งสองข้างพร้อมกันประมาณ 40% ผลการศึกษาพบว่า เกิดภาวะแทรกซ้อนในจำนวนเล็กน้อยไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะผ่าตัดข้างเดียวหรือผ่าตัดทั้งสองข้างพร้อมกัน


โรคและอาการที่ต้องเข้ารับการผ่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าทั้งสองข้าง

ภาวะเข่าเสื่อมขาโก่งทั้งสองข้าง เมื่อผ่าเข่าเสร็จขาจะตรงยาวขึ้น แต่ขาอีกข้างที่ยังไม่ได้ผ่าจะสั้นกว่าทำให้การเดินลำบากกว่า เพราะขาสั้นข้างยาวข้าง นอกจากนี้โรคข้อสะโพกหรือข้อเข่าหลาย ๆ โรค เช่น โรคข้อเสื่อม โรคภาวะกระดูกตายขาดเลือดไปเลี้ยง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ มักจะเป็นทั้งสองข้างและระยะของโรคใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่


แพทย์ที่ชำนาญการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกและข้อเข่า

นพ.วัลลภ สำราญเวทย์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ (เฉพาะทางด้านข้อสะโพกและข้อเข่า) ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง


โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกและข้อเข่า

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมให้การดูแลผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการเปลี่ยนข้อข้อสะโพกและข้อเข่า ด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว อีกทั้งดูแลความเจ็บปวดตั้งแต่ก่อนการผ่าตัดไปถึงหลังการผ่าตัด เพื่อให้ชีวิตพร้อมก้าวต่อไป