หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
อัลไซเมอร์ รู้ให้เร็วก่อนเสื่อมรุนแรง

อัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้มีอาการแค่เรื่องความจำ แต่ยังมีปัญหาเชิงพฤติกรรมร่วมด้วย เพราะฉะนั้นการสังเกตและรู้เท่าทันโรคอัลไซเมอร์จะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้


โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เกิดจากความเสื่อมของการทำงานของสมอง มาจากความผิดปกติของโครงสร้างเนื้อเยื่อสมอง จากโปรตีนชื่อว่าเบตาอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) และทาว (Tau) มีผลทำให้เซลล์สมองเสื่อมลง สูญเสียการทำงาน ความทรงจำเสียหาย และทำลายสมองส่วนอื่น ๆ จนเกิดความผิดปกติของความคิด พฤติกรรม และการใช้ชีวิตประจำวัน


คุณกำลังเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์หรือไม่

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคทางสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย 60 – 80% โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่ได้มีอาการแค่เรื่องความจำ แต่จะมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมร่วมด้วย และจะเริ่มจากบกพร่องเล็กน้อยไปจนถึงสมองเสื่อม เพราะฉะนั้นหากตอนนี้คุณมีปัญหาด้านพฤติกรรมและความจำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเช็กความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ 

อาการที่สังเกตได้เบื้องต้นคือ

  • หลงลืม 
  • จำเรื่องที่เพิ่งผ่านไปไม่ได้ 
  • ถามหรือพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ 
  • หาของไม่เจอ หลงบ่อย
  • สื่อสารไม่ได้ นึกคำไม่ออก ใช้คำผิด
  • ไม่มีสมาธิ จดจ่อได้ไม่นาน
  • บริหารจัดการ วางแผน แก้ไขปัญหา ใช้เหตุผลไม่ได้
  • หวาดระแวง วิตกกังวล หยาบคาย เศร้า ท้อแท้ เฉื่อยชา

อัลไซเมอร์ รู้ให้เร็วก่อนเสื่อมรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงอัลไซเมอร์

ปัจจัยเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ประกอบไปด้วย

  1. อายุมากกว่า 65 ปี
  2. ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  3. สูบบุหรี่
  4. มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันที่คุมไม่ดี
  5. นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. มีภาวะซึมเศร้า
  7. อุบัติเหตุกระทบกระแทกทางสมองรุนแรง
  8. ภาวะหูตึงหรือการได้ยินที่ลดลง
  9. ฝุ่น PM 2.5
  10. ภาวะน้ำหนักเกิน
  11. การไม่ได้พบปะผู้อื่นหรือเข้าสังคม และการไม่มีกิจกรรมทางกาย (Physical Inactivity)

การตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

หากมีอาการและความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์เฉพาะทางด้านความจำได้แก่

  1. แบบทดสอบการทำงานของสมองอย่างละเอียด
  2. เจาะเลือด เช่น การทำงานของไทรอยด์และระดับวิตามินในเลือด
  3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง 
  4. การตรวจด้วย PET Scan (FDG, Amyloid, Tau PET Scan)
  5. การตรวจเลือดหาสาร Amyloid, Tau (ยังไม่เป็นมาตรฐานทั่วไป อยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัยและใช้ในงานวิจัยเป็นหลัก)

อัลไซเมอร์ รู้ให้เร็วก่อนเสื่อมรุนแรง

การรักษาโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร

การรักษาโรคอัลไซเมอร์มีทั้งแบบไม่ใช้ยาและใช้ยา ได้แก่

  1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา ได้แก่
    • การทำกายภาพบำบัด
    • การฝึกสมอง
    • การเล่นเกมต่าง ๆ
    • การฝึกช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • การออกกำลังกาย มีสุขอนามัยการนอนที่ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลเรื่องน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี และแก้ไขเรื่องการได้ยินหากมีความผิดปกติ
  2. การรักษาแบบใช้ยา ต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่
    • การใช้ยาชะลอไม่ให้สมองเสื่อมเพิ่มขึ้น
    • การใช้ยาปรับอาการทางพฤติกรรมต่าง เช่น อาการวุ่นวายสับสน อาการกระสับกระส่าย อาการทางจิต ภาวะนอนไม่หลับ เป็นต้น

แพทย์ที่ชำนาญการรักษาอัลไซเมอร์

นพ.ชัยศักดิ์ ดำริการเลิศ แพทย์อายุรกรรมระบบประสาทและแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพฤติกรรมประสาทวิทยาและโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง


โรงพยาบาลที่ชำนาญการรักษาอัลไซเมอร์

โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง พร้อมค้นหาสาเหตุ ดูแลรักษา ฟื้นฟูและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะด้านสมอง ทีมพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อลดความรุนแรงและช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น