หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ดูแลครอบคลุมทุกด้านเมื่อผ่าเข่า

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลให้การดูแลรักษาโรคข้อสะโพกและข้อเข่าอย่างครอบคลุม (Total Joint Care) ไม่ได้เน้นแต่การผ่าตัดใส่ข้อเทียมอย่างเดียว การผ่าตัดคือทางรักษาสุดท้ายที่จะแนะนำผู้ป่วย

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคข้อสะโพกและข้อเข่ามีอาการและความรุนแรงของโรคในระยะต่างกัน หากมาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรกจะสามารถให้การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด (Conservative Treatment) และทางเลือกในการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบอนุรักษ์ (Joint Preservation) แต่ถ้าการทำลายของข้อเข่าข้อสะโพกหรือข้อเข่าอย่างรุนแรงจนไม่สามารถใช้วิธีการรักษาดังกล่าวได้แล้ว ก็สามารถแก้ไขข้อที่สึกหรือเสื่อมนั้นได้ด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม และข้อสะโพกเทียม



1. Joint Preservation and Joint Reconstruction การผ่าตัดแบบอนุรักษ์ เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขข้อสะโพกหรือข้อเข่าที่มีปัญหาก่อนที่ข้อนั้นจะถูกทำลายจนมีปัญหาความเสื่อมของข้อเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
– การผ่าตัดแก้ไขความผิดรูปของข้อ ขาโก่ง ขากาง ด้วยการผ่าตัดต่อกระดูกให้ตรง (High Tibial Osteotomy, Distal Femoral Osteotomy)
– การผ่าตัดย้ายแนวแรงของกล้ามเนื้อเหนือเข่า (Proximal Realignment)
– การผ่าตัดย้ายและยกกระดูกที่เกาะเอ็นสะบ้า (Fulkerson’s Osteotomy, Maquet, Emslie)
– การผ่าตัดแก้ไขมุมของเบ้าสะโพก (Periacetabular Osteotomy)
– การผ่าตัดแก้มุมของกระดูกต้นขา (Femoral Osteotomy)
– การผ่าตัดภายในข้อทั้งข้อเข่าข้อสะโพก ทั้งแบบใช้กล้องและแบบไม่ใช้กล้อง (Intraarticular reconstruction, Open or Arthroscope)

2. Joint Replacement การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพกเทียม เป็นการรักษาเมื่อมีปัญหาการใช้ข้อสะโพกหรือข้อเข่าเป็นอย่างมากและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยการรักษามีทั้งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมทั้งข้อด้านเดียว การเปลี่ยนข้อเทียมสองด้านหรือทั้งเบ้าและกระดูกต้นขา โดยจะมีการให้คำแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งขนิดของข้อเทียมที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ก่อนที่จะร่วมกันตัดสินใจว่าควรจะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดชนิดไหนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ด้วยนโยบายที่ต้องการให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดของตนเองมากที่สุด

3. Tertiary care การดูแลรักษาอาการที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน (Complication) หลังจากได้รับการรักษามาแล้วจากการผ่าตัดครั้งก่อน ให้การรักษาผู้ป่วยที่เคยใส่ข้อเทียมและข้อเทียมเริ่มมีปัญหาความเสื่อมหมดอายุ หรือข้อเทียมหักจากอุบัติเหตุ ด้วยการทำผ่าตัดซ่อมเสริมหรือเปลี่ยนข้อเทียมใหม่ (Revision Joint Replacement) เพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

4. Supertertiary Care การให้คำปรึกษาและดูแลรักษาในระดับประเทศ

– Referral Center เป็นศูนย์ในการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในและนอกเครือข่ายโรงพยาบาลกรุงเทพ และต่างประเทศทั่วโลก
– Consultant for Network Hospital ให้คำปรึกษาในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าข้อสะโพกแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
– Training Center for Hip and Knee Fellowship Program เป็นสถานที่ฝึกอบรมทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพก โดยมีหลักสูตร 1 – 2 ปี โดยเปิดรับฝึกอบรมแก่แพทย์ที่จบวุฒิบัตรศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์