หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ปวดหลังเรื้อรังแก้ไขได้

บางคนแม้จะได้รับการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังไปแล้ว แต่อาการเจ็บปวดยังไม่ดีขึ้น บางรายทุกข์ทรมานมากกว่าเดิม ทางการแพทย์เรียกว่า Failed Back Surgery Syndrome หรือ FBSS


ปัญหาซับซ้อนของกระดูกสันหลัง

ปัจจุบันมีผู้ป่วยทางกระดูกสันหลังที่มีปัญหาซับซ้อนยากต่อการรักษาจำนวนมาก ซึ่งมักถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นหรือผู้ป่วยติดต่อเข้ามาขอรับการรักษาเอง เช่น กรณีที่มีการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทอย่างรุนแรง หรือกรณีที่ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น Failed Back Surgery (FBS) ในกลุ่มคนไข้ที่จัดเป็นภาวะที่มีความซับซ้อนในการรักษาเหล่านี้ (Complicated Spine Problems) จะได้รับการดูแลเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการรักษาโดยการผ่าตัด

ยกตัวอย่าง คนไข้เป็นแพทย์ชาวต่างชาติถูกส่งเข้ามารักษา เนื่องจากมีก้อนหมอนรองกระดูกกดไขสันหลังส่วนหน้าอก ทำให้เดินไม่ได้ ซึ่งถือเป็นกรณีที่การผ่าตัดจะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดอัมพาตถาวร ผู้ป่วยรายนี้ตระหนักถึงความสำคัญในการมีศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังและเครื่องมืออุปกรณ์ในการผ่าตัด ได้แก่ กล้อง Microscope และเครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด (Intraoperative Neurological Monitoring – IONM) หลังจากได้รับคำอธิบายถึงกระบวนการผ่าตัด ผู้ป่วยมั่นใจในศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล และทีมศัลยแพทย์ จึงตัดสินใจเลือกทำการผ่าตัดที่นี่ ซึ่งการผ่าตัดก็ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้ตามปกติในสัปดาห์ถัดไป แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในระดับสากลในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังที่มีความซับซ้อน

เทคโนโลยีเสริมการรักษากระดูกสันหลัง

นอกจากประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์แล้ว เทคโนโลยียังมีส่วนเสริมในการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วย ซึ่งเทคโนโลยีที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลนำมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดด้วยกล้อง Microscope และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติโออาร์ม (O-Arm) จะทำการบันทึกภาพกระดูกสันหลังในขณะศัลยแพทย์กำลังผ่าตัดผู้ป่วย ภาพที่ได้จะเป็นภาพสามมิติที่ชัดเจน แสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังอย่างละเอียด และแปลงภาพออกมาในรูปแบบแอนิเมชันสามมิติและส่งต่อข้อมูลให้แก่ ระบบนำวิถีสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้ตรงตามตำแหน่ง ที่สำคัญสามารถกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจนในการใส่โลหะ แม้ว่ากระดูกสันหลังจะผิดรูปอย่างรุนแรง หลังจากนั้นจะทำการสแกนตรวจสอบอีกครั้งก่อนการเย็บแผล

การนำเครื่องมือที่ทันสมัยเช่นนี้มาเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความราบรื่นในขณะผ่าตัดและลดขนาดของแผล ทำให้มีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยลง เสียเลือดลดลง คนไข้สามารถฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ในเวลารวดเร็ว ที่สำคัญคือ ลดความเสี่ยงต่อการกระทบไขสันหลัง (ซึ่งการผ่าตัดด้วยตาเปล่าจะมีความเสี่ยงสูง) หรือการใส่สกรูผิดตำแหน่งในการผ่าตัดทำให้กระดูกสันหลังคดผิดรูป

เทคโนโลยีถัดไปที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เส้นประสาท และไขสันหลัง โดยเฉพาะการทำผ่าตัดแผลเล็ก (Minimal Invasive Spine Surgery) คือ เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด (IONM – Intraoperative Neurological Monitoring) จะติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังในระหว่างการผ่าตัด โดยใช้เทคนิคทางด้านประสาทสรีรวิทยา ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของระบบประสาททางด้านไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ประสิทธิภาพของ IONM จึงช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อระบบประสาทและไขสันหลังในขณะผ่าตัด

นอกจากนี้ สถาบันโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ยังได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาโรค โดยเฉพาะสำหรับโรคปวดกระดูกสันหลัง (Low Back Pain) จากสถาบัน JCI (Joint Commission International) ซึ่งจะแสดงถึงคุณภาพการรักษาอยู่ในมาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำในสหรัฐอเมริกา


ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ให้ความสำคัญในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดแล้ว โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญและมีประสบการณ์ในการวินิจฉัยที่ถูกต้อง พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยทำหน้าที่ในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ