ปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอวยังคงพบได้บ่อยจากพฤติกรรมการยกของหนักหรือการก้มผิดท่าจนเกิดอาการปวดเอวเฉียบพลันและร้าวลงขา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการปวดและมีปัญหาการเคลื่อนไหวแบบเรื้อรัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องและท่อโลหะ (Microendoscopic Discectomy) คืออีกหนึ่งทางเลือกของการผ่าตัดรักษาที่ช่วยแก้ไขปัญหาความเจ็บปวดเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
รู้จัก Microendoscopic Discectomy
Microendoscopic Discectomy / Foraminotomy คือ การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องไมโครสโคป และผ่าน Tubular Retractor โดยไม่จำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้อออกจากกระดูกสันหลัง โดยใช้ท่อโลหะ (Tubular Retractor) ขยายทางเข้าของช่องทางผ่าตัด จากนั้นใช้กล้องส่องเข้าไปในโพรงแผลที่มีขนาดเล็ก เพื่อเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการ แผลผ่าตัดมีขนาดเพียง 1.5 – 2 เซนติเมตร โดยวิธีนี้ต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์และเครื่องมือการผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้การผ่าตัดรักษามีประสิทธิภาพ แผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวเร็ว
สัญญาณเตือนอาจต้องผ่าตัด
- ปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผู้ป่วยที่เหมาะกับ Microendoscopic Discectomy
- ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขาจนไม่สามารถเดินได้ตามปกติ
ข้อดีของ Microendoscopic Discectomy
- ไม่ตัดกล้ามเนื้อออกจากกระดูกสันหลัง
- ลดปริมาณการตัดกระดูกสันหลัง
- ลดอาการปวดและเวลาในการผ่าตัด
- แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน ฟื้นตัวเร็ว
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรง
- หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์เริ่มโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ
การผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สิ่งสำคัญคือการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งในช่วงแรกมักเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้องและท่อโลหะ (Microendoscopic Discectomy) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสถาบันโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล มีมาตรฐานสากลในการรักษาเฉพาะทางด้านโรคปวดหลังจาก JCI สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์