เพราะกระดูกสันหลังต้องการความแข็งแรง ดังนั้นหากมีปัญหากระดูกสันหลังเรื้อรังและส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต การรักษาโรคกระดูกสันหลังที่มีประสิทธิภาพกับแพทย์เฉพาะทางและโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อรักษาปัญหากระดูกสันหลังให้ตรงจุด ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ และแก้ปัญหากระดูกสันหลังที่เคยรักษาไปแล้วแต่ยังไม่หายขาด เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
วิธีการรักษาปัญหากระดูกสันหลังอย่างเห็นผล ประกอบไปด้วย
1) การรักษาด้านกายภาพบำบัด, ยาลดปวด, ยาลดการอักเสบ
การรักษาด้านกายภาพบำบัดกระดูกสันหลังเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเพื่อช่วยฟื้นคืนความแข็งแรงและความสามารถในการเคลื่อนไหว ด้วยท่าบริหารต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังหรือมีแนวโน้มการกดทับเส้นประสาท มีความจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาด้านกายภาพบำบัด รวมถึงการให้ยาลดปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการและการให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เพื่อช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบ ๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง โดยการรักษาด้านกายภาพบำบัด การให้ยาลดปวด และการให้ยาลดการอักเสบอาจทำควบคู่กันขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ
2) SPINAL INTERVENTION
การหาวิธีระงับความปวด (Pain Intervention) แพทย์จะสืบหาสาเหตุความปวดด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งเอกซเรย์ หรือสแกนเอ็มอาร์ไอเพื่อนำข้อมูลมาประมวลหาวิธีระงับความปวด เป็นการค้นหาจุดเจ็บที่แท้จริงด้วยวิธีทาง Pain Intervention เพื่อหาตำแหน่งเส้นประสาทและระดับของกระดูกสันหลังที่มีปัญหาแล้วเริ่มต้นรักษา ทำให้แพทย์ผ่าตัดทราบบริเวณที่จะผ่าได้อย่างจำเพาะเจาะจงมากขึ้นและไม่ต้องผ่าตัดกว้างเกินความจำเป็น
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขาเรื้อรัง (SI Joint Dysfunction Syndrome) ที่มีอาการปวดข้อเชิงกรานใกล้กับแนวกระดูกสันหลัง การจัดแนวกระดูกสันหลังและสะโพกให้อยู่ในแนวที่เหมาะสมและคลายเส้นเอ็นที่หดรั้งมากไปยังคงทำให้มีอาการปวดอยู่ การรักษาแบบ Spinal Intervention (การรักษาแบบไม่ผ่าตัด) ช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
3) MIS SPINE (MINIMALLY INVASIVE SPINE SURGERY)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก MIS Spine (Minimally Invasive Spine Surgery) สามารถทำได้ทุกโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแผลเล็กจะได้เปรียบในด้านแผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ลดการทำลายกล้ามเนื้อโดยรอบและกระดูกสันหลัง มีหลายวิธี ได้แก่
- MICROSCOPIC DISCECTOMY / FORAMINOTOMY
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทที่ได้ผลและเป็นหนึ่งในการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery) เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วยกล้องไมโครสโคปที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20 – 100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน, การใช้ระบบนำวิถี Stealth Navigation System บอกตำแหน่งขณะผ่าตัด และเครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (IONM) ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้มีประสิทธิภาพ แผลมีขนาดเล็กประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
- MICROENDOSCOPIC DISCECTOMY / FORAMINOTOMY
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทผ่านกล้อง (Microendoscopic Discectomy) โดยไม่จำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้อออกจากการกระดูกสันหลัง ใช้ท่อโลหะ (Tubular Retractor) ขยายทางเข้าของช่องทางผ่าตัด จากนั้นใช้กล้องส่องเข้าไปในโพรงแผลที่มีขนาดเล็ก เพื่อเข้าไปผ่าตัดในตำแหน่งที่ต้องการ แผลผ่าตัดมีขนาดเพียง 1.5 – 2 เซนติเมตร วิธีนี้ต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์และเครื่องมือการผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้การผ่าตัดรักษามีประสิทธิภาพ
- ENDOSCOPIC DISCECTOMY / FORAMINOTOMY
หนึ่งในการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery) ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน้อยที่สุดและได้ผลการรักษาเทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติคือ Endoscopic Spine Surgery คือ การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตรผ่านท่อขนาดเล็กเพียงแผลเดียว (Single Portal) จากทางด้านข้างและด้านหลัง โดยมีระบบน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นชัดเจน และมีการใช้ Bipolar/Radiofrequency ช่วยจี้หยุดเลือดขณะที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดผ่านจอ Monitor ช่วยให้การผ่าตัดรักษาแก้ปัญหาได้ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยอาศัยชุดเครื่องมือการผ่าตัดเฉพาะทางทั้งหมด ศัลยแพทย์และทีมผ่าตัดต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4) ADVANCED MIS (ADVANCED MINIMALLY INVASIVE SURGERY)
การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังแผลเล็ก (Advanced Minimally Invasive Surgery) ประกอบไปด้วย
- เครื่องมอนิเตอร์ระบบประสาท IONM (Intraoperative Neurological Monitoring)
เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด (Intraoperative Neurological Monitoring – IONM) มีความสำคัญต่อการผ่าตัดแผลเล็ก เพราะคอยติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังระหว่างผ่าตัด โดยใช้เทคนิคทางด้านประสาทสรีรวิทยาที่เกิดจากการตอบสนองของระบบประสาททางด้านไฟฟ้า จึงช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด
- O-arm 3D Imaging Navigator
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติโออาร์มร่วมกับเครื่องนำวิถี
เป็นเทคโนโลยีช่วยเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ให้ภาพคมชัด มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการประมวลผลขั้นสูง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ดียิ่งขึ้น
ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้ป่วยหมดกังวลกับปัญหากระดูกสันหลัง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลจึงพัฒนาเทคนิคการรักษาอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญกับมาตรฐานการรักษา การดูแลและการบริการผู้ป่วย และได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาโรค โดยเฉพาะสำหรับโรคปวดกระดูกสันหลัง (Low Back Pain) จากสถาบัน JCI (Joint Commission International) แสดงถึงคุณภาพการรักษาในมาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยให้กลับไปสนุกกับการใช้ชีวิตอีกครั้ง
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://mgronline.com/qol/detail/9610000102694