หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม แก้ไขให้ครบข้อ

อาการข้อเสื่อมมักสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย มีอาการเจ็บขัด เดินลำบาก หรือกะเผลกเหมือนขาสั้นยาวไม่เท่ากัน โดยเฉพาะมีอาการร้อน บวมอักเสบแสดงว่าเยื่อหุ้มข้างในอักเสบผลิตน้ำไขข้อผิดปกติและเป็นน้ำที่คุณภาพไม่ดี อาจทำให้เกิดภาวะอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น 2 ข้างพร้อมกัน แต่เมื่อข้างหนึ่งเสื่อมอีกข้างมักจะเสื่อมตามมา หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะแรกอย่างถูกต้องก็มีโอกาสที่จะชะลอความเสื่อมได้

การเสื่อมของข้อเข่า

การเสื่อมของข้อโดยเฉพาะข้อเข่า แบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 จะมีอาการเจ็บเล็กน้อย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่อาจมีอาการฝืด ๆ ขัด ๆ
  • ระยะที่ 2 กระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มสึกอาจต้องตรวจดูจากเอกซเรย์
  • ระยะที่ 3 ผิวข้อเริ่มขรุขระกระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มแตกร่อน มีอาการเจ็บขัดมากขึ้น
  • ระยะที่ 4 กระดูกอ่อนผิวข้อสึกทั่วข้อเข่า ผู้ป่วยจะทรมานมาก โอกาสที่ต้องผ่าตัดสูง

   ระยะที่ 1    ระยะที่ 2    ระยะที่ 3    ระยะที่ 4

สาเหตุข้อเสื่อม

สาเหตุข้อเสื่อมอาจเกิดได้จาก

  • ความผิดปกติของข้อตั้งแต่กำเนิด
  • อุบัติเหตุ
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ได้รับยาสเตียรอยด์มากเกินไป
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
  • เกิดการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงของข้อสะโพกหรือข้อเข่า หรือจากการใช้งานหนัก
  • โรคต่าง ๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ สะเก็ดเงิน ข้อยึดติดแข็ง ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษาของศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล คือ “Total Joint Care” การดูแลแบบครบข้อ ครอบคลุมทุกด้านของการรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้โรคกลับมามีอาการรุนแรงขึ้นอีก การดูแลแบบครบข้อ ประกอบด้วย

  1. การรวบรวมข้อมูลและประเมินผู้ป่วยและการลงทะเบียน (Registration)
  2. การวางแผนการรักษาประกอบด้วยโภชนาการ ยา การออกกำลังกาย กายภาพบำบัด การผ่าตัด การให้ความรู้
  3. การติดตามและดูการเปลี่ยนแปลง
  4. การวางแผนการผ่าตัดและใช้ “เทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบจำลองเฉพาะผู้ป่วยรายบุคคล” (Digital template) และใช้ “เทคโนโลยี Computer Assist Navigating TKR” หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อโดยการใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี เพื่อให้ข้อเทียมที่ใส่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมทำให้ผลการรักษามีความถูกต้อง
  5. การเลือกใช้วัสดุสำหรับข้อเทียม จะมีทั้งแบบเซรามิกและโลหะชนิดใหม่ Hyper porous metal เป็นวัตถุที่สามารถเข้ากับกระดูกได้ดี ส่งผลให้มีการเชื่อมติดของกระดูกและข้อเทียมได้เร็วขึ้น เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  6. การดูแลเรื่องความเจ็บปวด เรียกว่า ระบบบริหารความเจ็บปวด (Pain Management) เพื่อป้องกันและลดความเจ็บปวด ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และโดยเฉพาะหลังการผ่าตัด
  7. กายภาพบำบัด โดยทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

แนวทางการผ่าตัด

ยุทธศาสตร์สำคัญของการรักษาของศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล คือ การออกแบบแนวทางการดูแลแบบเฉพาะบุคคล (Customized Service) ซึ่งเป็นโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแต่ละคนแบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด หลังการผ่าตัด จนกระทั่งหายเป็นปกติ พร้อมด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดและห้องผ่าตัดที่ทันสมัย อาทิการนำ “ชุดอวกาศสำหรับการผ่าตัด” (Surgical space suit) มาใช้ภายในห้องผ่าตัดเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้ออันเกิดจากลมหายใจของศัลยแพทย์ และ ระบบไหลเวียนอากาศในห้องผ่าตัดเป็นทิศทางเดียว (Lamina air flow and Positive pressure) ที่ป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจายในห้องผ่าตัดและช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้

วิธีการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ในผู้ป่วยแต่ละราย

  • การผ่าตัดแบบเก็บข้อเอาไว้ Joint Preservation
  • การผ่าตัดแบบเปลี่ยนข้อ Joint Replacement

เทคโนโลยีการผ่าตัด

นอกจากการใช้ “เทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบจำลองเฉพาะผู้ป่วยรายบุคคล” (Digital template) เพื่อเพิ่มความถูกต้องในการวางแผนการรักษาให้ได้ขนาดข้อเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว เรายังใช้ “เทคโนโลยี Computer Assist Navigating TKR” หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อโดยการใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี เพื่อให้ข้อเทียมที่ใส่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดความผิดพลาดในการวางข้อเทียม ทำให้ผลการรักษามีความถูกต้อง แผลมีขนาดเล็ก และได้ขนาดของข้อเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งการเลือกใช้วัสดุสำหรับข้อเทียม จะมีทั้งแบบเซรามิกและโลหะชนิดใหม่ Hyper porous metal เป็นวัตถุที่สามารถเข้ากับกระดูกได้ดี ส่งผลให้มีการเชื่อมติดของกระดูกและข้อเทียมได้เร็วขึ้น


ดูแลความเจ็บปวด

เพราะการดูแลเรื่องความเจ็บปวดจัดเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของการรักษาแบบองค์รวม ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลจึงได้นำวิธี ดูแลความเจ็บปวดตั้งแต่ก่อนผ่าตัดไปจนภายหลังการผ่าตัด” (Multimodal Preemptive Pain Management Protocol) มาใช้กับผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเพื่อป้องกันและลดความเจ็บปวด โดยจะเน้นการให้ยาระงับปวดตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ในระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดทรมาน สามารถลุกจากเตียงและฝึกเดินได้ในวันรุ่งขึ้น ไม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาแก้ปวดชนิดมอร์ฟีนอีกต่อไป


ฟื้นฟูหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัด นักกายภาพจะช่วยคนไข้ทำกายภาพ บริหารกล้ามเนื้อต้นขา และใช้เครื่อง CPM ในการช่วยปรับองศาการงอเข่า และฝึกเดินโดยการใช้ Walker และฝึกทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น การเข้าห้องน้ำ มีการนำเครื่องหัดเดินในสภาวะไร้น้ำหนัก Alter G (Anti Gravity Treadmill) ที่สามารถแบ่งรับน้ำหนักของร่างกายเอาไว้ได้สูงสุดถึง 80% ของน้ำหนักตัว มาใช้ในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของร่างกายหลังผ่าตัด


ทำไมต้องศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

เพราะที่นี่เรา..

  • ดูแลใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ทั้งก่อน – ระหว่าง – หลังการผ่าตัด
  • เพิ่มความชัดเจนถูกต้อง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยวางแผนก่อนผ่าตัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • ฟื้นตัวเร็ว ด้วยการหัดเดินในสภาวะไร้น้ำหนัก (Alter – G)
  • ลดความเจ็บปวด ด้วยการฝึกเคลื่อนไหวข้อเข่าโดยเทคโนโลยีทันสมัย
  • คุณภาพ ด้วยข้อเทียมมาตรฐานสากล