โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ชูนวัตกรรม ลดเสี่ยง-เลี่ยงตาย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

หากกล่าวถึงโรคที่คร่าชีวิตคนไทย หนึ่งในนั้นย่อมมี ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ที่ถือเป็นตัวการในลำดับต้นๆ จากสถิติพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองถึงปีละ 150,000 คน หรือกล่าวได้ว่าคนไทยป่วยเป็นโรคนี้ 1 รายในทุกๆ 4 นาทีและทุกๆ 10 นาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว เห็นได้ชัดในช่วงนี้ที่มีคนดังล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือรุนแรงขึ้นเสียชีวิตในบางราย แต่หากประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด สมอง ก็จะช่วยให้การรับมือและป้องกันสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้อีกด้วย

นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้ อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ต้นเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke นั้น เกิดจากการที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความผิดปกติ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ

หลอดเลือดสมองอุดตันและหลอดเลือดสมองแตก ส่งผลให้สมองหยุดทำงานไปอย่างเฉียบพลันจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมี เลือดออกแทรกทับในเนื้อสมอง 70% ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ

  1. การอุดตันของหลอดเลือดจากการเสื่อมหรือการแข็งตัวของหลอดเลือด
  2. ก้อนเลือดจากหัวใจหรือตะกอนเลือดจากผนังหลอดเลือดแดงที่คอด้านหน้าหลุดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง
  3. ความ ดันเลือดลดลงมากจนไปเลี้ยงไม่พออีก ส่วนอีก 30% เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือเลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral Hemorrhage หรือ ICH) และเลือดออกที่ผิวสมอง (Subarachnoid Hemorrhage หรือ SAH)

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน ใหญ่ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน รับประทานยาคุมกำเนิด ความเครียด ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดปลายขาตีบ คนสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงคนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ นพ.ชาญพงค์ ได้กล่าวต่อถึงอาการและความรุงแรงของโรคหลอดเลือดสมองว่าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ตำแหน่งที่เกิดการตีบตันในสมองและขนาดของหลอดเลือด

“กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีอาการน้อย คนไข้จะพูดไม่ชัด มุมปากตก แขนขาไม่มีแรงแต่พอเดินได้ มักไม่มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย กลุ่มที่ 2 อาการปานกลาง คนไข้จะมีอาการเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น อ่อนแรงมากจนขยับไม่ได้หรือพูดไม่ได้เลย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การฟื้นตัวในกลุ่มนี้จะเริ่มเห็นชัดประมาณสัปดาห์ที่ 3 และมักไม่กลับมาเป็นปกติ กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มอาการหนัก มักไม่รู้สึกตั้งแต่ต้นหรืออาการซึมลงเร็วมากภายใน 24 ชม. ส่วนใหญ่เกิดในผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองตีบตันขนาดใหญ่ในผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือเคยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตมาก่อน และมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ” นพ.ชาญพงค์ กล่าว

นพ.ชาญพงค์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงขั้นตอนในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามหลัก BEFAST โดยเน้นให้จดจำอาการเตือน 5 อย่าง คือ

  1. เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน (Balance)
  2. ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน (Eyes)
  3. หน้าเบี้ยวหรือปากเบี้ยว (Face)
  4. แขนขาอ่อนแรง (Arm)
  5. พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ออก (Speech)

โดยอาการทั้งหมดทั้งปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ดังนั้นจึงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที (Time) “นอก จากหลัก BEFAST แล้วโรงพยาบาลกรุงเทพยังให้ความสำคัญกับแผนการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดย เฉพาะกรณีหลอดเลือดอุดตันในสมองฉับพลัน โดยหากคนไข้มีอาการไม่เกิน 4.5 ชม. และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายคนไข้แล้ว แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Actilyse) ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีโอกาสที่จะช่วยให้คนไข้กลับมาเป็นปกติค่อนข้างสูง ทั้งนี้ต้องให้เวลากับทีมแพทย์ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค ดูผลเลือด และดูภาพถ่ายสมองก่อนการตัดสินใจให้ยา อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวมีความเสี่ยงอาจทำให้มีเลือดออกในสมองได้ราว 6% หรือเมื่อให้ยาไป 8 คนจะมีคนไข้ที่หายปกติเพียง 1 คน เพราะฉะนั้น โรงพยาบาลที่ให้ยาจึงต้องมีศักยภาพรองรับโรคแทรกซ้อนได้ ในกรณีที่คนไข้มาถึงแพทย์โดยใช้เวลาเกิน 4.5 ชม.แต่ไม่เกิน 6 ชม. และวินิจฉัยแล้วว่าเซลล์สมองยังไม่ตายสามารถใช้วิธี Mechanical Thrombectomy หรือการใส่อุปกรณ์เข้าไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อดึงเอาลิ่มเลือดที่อยู่ภายในกระโหลกศีรษะชนิดต่างๆ เช่น Snare, Merci, Penumbra และ Solitaire ออกมา ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดผลกระทบและเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวให้แก่คน ไข้ และมี รพ.เพียงไม่กี่แห่งที่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ โดยมีโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งในนั้น” นพ.ชาญพงค์ กล่าว

อย่างที่ทราบดีว่า เวลา คือ หัวใจสำคัญของการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกรุงเทพจึงได้จัดตั้ง ศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หรือ Bangkok Emergency Services (BES) เพื่อ ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดพ้นจากสภาวะวิกฤต ด้วยการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายแห่ง ซึ่งในขณะนี้มีเครือข่ายศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพทั้งใน เขตกรุงเทพและปริมลฑลแล้วจำนวน 13 แห่ง พร้อมทีมแพทย์-พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยได้มาตรฐาน สากล ไม่ว่าจะเป็น ICU เคลื่อนที่ ระบบ GPS นำทาง BES Motorlance มอเตอร์ไซต์การแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงศูนย์สั่งการฉุกเฉิน BES Dispatch โทร.02-716-9999 รับเเจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยวิกฤตอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สู่โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ตีบ ตัน แตก) อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตรวจสมองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized tomography scan หรือ CT scan) เครื่องตรวจสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI)รวมถึง RoboDoctor หรือคุณหมอหุ่นยนต์ เอกสิทธิ์เฉพาะของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ช่วยย่นระยะทางและประหยัดเวลา โดยแพทย์สามารถตรวจรักษาคนไข้ด้วยการบังคับการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ผ่าน Control Station จากโรงพยาบาลต้นทาง ทั้งยังสามารถมองเห็นและพูดคุยกับผู้ป่วย ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทีมแพทย์ได้เสมือนการตรวจรักษาจริง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผลจำเป็นที่จะต้องอาศัยทีมที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อย่างที่ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล นอกจากเราจะมีระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง TeleStroke ผ่าน RoboDoctor การทำ Thrombectomy ที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงระบบ BES การส่งต่อคนไข้ที่เน้นความสำคัญเรื่องเวลาแล้ว ยังมี คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Prevention Clinic) ที่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองได้อย่างครบครัน และถือเป็นโรงพยาบาลชั้นนำอันดับต้นของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) จากสหรัฐอเมริกา นพ.ชาญพงค์ กล่าวทิ้งท้าย

ผลจากการทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนางานบริการ บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนแผนการรักษาโรค หลอดเลือดสมอง’ อย่างต่อเนื่องของศูนย์สมองและระบบประสาท รพ. กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล คือ หลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่คนไข้และผู้รับบริการจำนวนมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic)