หน้าหลัก
/ เทคโนโลยีของเรา /
นวัตกรรมการผ่ากระดูกสันหลังที่หลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลัง

การผ่าตัดเสริมหมอนรองกระดูกทางข้างลำตัวแบบแผลเล็กเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ นำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลังให้น้อยลงเพื่อรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น และกระดูกสันหลังเคลื่อน ซึ่งได้ผลดียิ่ง มีอัตราการประสบความสำเร็จสูงขึ้นกว่าการผ่าตัดเดิมปลอดภัยมากขึ้น ผู้ป่วยหายไว และขณะนี้นับได้ว่าสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ เป็นหนึ่งในผู้นำของการรักษาเทคนิคนี้ในเอเชีย

  • ALIF (Anterior Lumbar Interbody Fusion)

การผ่าตัดเสริมหมอนรองกระดูกจากทางด้านหน้าแบบแผลเล็ก เป็นการผ่าตัดวิธีหนึ่งที่มีอัตราการประสบความสำเร็จสูง โดยการเข้าหาบริเวณหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาทางด้านหน้า และหลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลัง สามารถใช้แก้ไขปัญหากระดูกสันหลังหลายประเภทได้ผลดี อาทิ ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ภาวะล้มเหลวจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังในอดีต ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมปวดหลังเรื้อรัง การผ่าตัดชนิดนี้มีอัตราการประสบความสำเร็จสูง และเป็นที่นิยมกันในต่างประเทศ

  • Percutaneous Screw Fixation

เป็นการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลังวิธีใหม่ที่หลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลังโดยการไม่เปิดแผลเลาะกล้ามเนื้อ แต่ใช้การเจาะแผลเป็นรูเล็ก และร้อยเรียงโลหะผ่านใต้ผิวหนังชิดบริเวณกระดูก ผลลัพธ์ที่ได้คือลดการเจ็บปวด เสียเลือดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุจะมีโรคแทรกซ้อนในการผ่าตัดน้อยลง สามารถใช้ผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ ทางกระดูกสันหลังได้อีกหลายอย่าง อาทิ กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เนื้องอกกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังติดเชื้อ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2555
ศูนย์กระดูกสันหลังกรุงเทพ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับภาควิชาออร์โธปิดิกส์ รพ.ศิริราช คิดค้นอุปกรณ์ผ่าตัดตรึงกระดูกสันหลังหลายระดับแบบแผลเล็ก หลีกเลี่ยงการทำลายกล้ามเนื้อหลัง โดยฝีมือของคนไทยซึ่งได้ผ่านการทดสอบและนำไปใช้ประสบความสำเร็จในผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งนี้ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ได้ในประเทศไทย ไม่ต้องรอเทคโนโลยีจากต่งประเทศ และประหยัดค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย ลดการนำเข้าอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งผลการส่งเข้าเสนอในงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2555 ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านสังคมและปัจจุบันนี้ อุปกรณ์นี้ได้มีการส่งเสริมฝึกอบรม และนำไปใช้กันในโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ป่งยทั่วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว