โรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน โดยมักเริ่มต้นด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ แต่หากปล่อยไว้จนอาการทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวยาก
ถึงแม้พาร์กินสันจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการตรวจหาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดพามีนกับเทคโนโลยี PET Brain F-DOPA วินิจฉัยระยะความรุนแรงของโรค หรือรักษาโรคพาร์กินสันด้วยการผ่าตัดฝังไมโครชิปกระตุ้นสมองส่วนลึก DBS Therapy เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ลดการใช้ยา ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
พาร์กินสันกับผู้สูงอายุ
ปัจจุบันโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) พบได้มากขึ้นจากสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เร็วเกินไป ได้เเก่ อาการสั่น (tremor) อาการกระตุก (myoclonus, tics disorders) อาการบิดเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ (dystonia) หรืออาการเคี้ยวปาก หรืออาการคล้ายรำละคร (chorea) เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องพยายามตรวจค้นเพื่อหาสาเหตุเพื่อการรักษาที่ต้นเหตุ ปัจจุบันมีการตรวจด้วยเครื่องสเเกนสมองชนิด CT, MRI เเละ PET Scan โดยเฉพาะ F-DOPA PET จะใช้เพื่อวินิจฉัยยืนยันโรคพาร์กินสันโดยเฉพาะไดัอย่างละเอียดเพิ่มขึ้น
พาร์กินสันกับการรักษา
การรักษาโรคพาร์กินสันที่ได้ผล คือ การรักษาด้วยยาทดเเทนโดพามีนที่ขาดไป ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนในกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามานาน (motor fluctuations) สามารถรักษาด้วยวิธีฝัง electrode เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณยาที่ใช้เเละลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลงได้
ส่วนการผ่าตัดจะเเบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่
- ทำการผ่าตัดเพื่อฝัง electrode ขนาดเล็กเข้าไปที่สมองส่วน subthalamic nucleus โดยทำการผ่าตัดที่สมองทั้งสมองข้างโดยเจาะรูเล็ก ๆ ที่กะโหลกศีรษะ เเละจะมีการทดสอบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นไหมโดยการกระตุ้นสมองส่วนนั้นโดยที่ผู้ป่วยยังรู้ตัวตลอดเวลา เมื่อสำเร็จเเล้วจะทำการผ่าตัดในลำดับต่อไป
- ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็ก (IPG DBS battery) ไว้ที่หน้าอกเเล้วเชื่อมต่อกับสาย electrode ในสมอง หลังจากนั้น 3 – 4 สัปดาห์จะทำการตั้งโปรเเกรมตัวเครื่องที่หน้าอกเเละดูการตอบสนองของอาการของผู้ป่วย โดยสามารถลดอาการเกร็ง สั่น เเละช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น โดยการเปิดปิดเครื่องหรือตั้งโปรเเกรมสามารถทำได้จากภายนอกโดยตัว remote programmer โดยเเพทย์หรือตัวผู้ป่วยเองก็สามารถทำได้โดยมีเครื่อง patient self programmer เช่นเดียวกัน
ส่วนการรักษาด้วย botulinum toxin injection เป็นการรักษาโรคหน้ากระตุก (Hemifacial spasm) โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) กล้ามเนื้อเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์อัมพาต (muscle spasticity) เพื่อลดการเกร็ง การกระตุก เเละความปวดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้ สารนี้จะไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อชั่วคราว (transient focal muscle paralysis) โดยไปยับยั้งการปล่อยสาร acetyl choline ที่ปลายประสาทที่ต่อกับกล้ามเนื้อ หลังฉีดยาจะไม่ออกฤทธิ์ทันทีต้องใช้เวลา 3 – 4 วันเเละจะออกฤทธิ์สูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 เเละผลของการรักษาจะอยู่ได้นานถึง 2 – 3 เดือน นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการหลั่งเหงื่อซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัวได้อีกด้วย
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
พร้อมดูแลเพื่อคืนความสุขให้ทุกการเคลื่อนไหว
Enjoy the Move by โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โทร. 1719